วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ตลาดสินค้าเกษตรไทยในญี่ปุ่น

มังคุด
                      ญี่ปุ่นถือเป็นประเทศที่มีกำลังซื้อสูงก็จริง โดยเฉพาะที่กรุงโตเกียวค่าครองชีพสูงไล่เลี่ยกับเมืองนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐเลยทีเดียว แต่ใช่ว่าผลไม้ไทยจะเข้ามาจำหน่ายได้ทั้งหมด เพราะประชาชนเขาเลือกที่จะบริโภคของที่มีคุณภาพและมีประโยชน์ ต่อร่างกาย ฉะนั้นเมื่อเราเป็นผู้ผลิต เป็นผู้ส่งออก เราก็ต้องผลิตให้ได้ตามความต้องการของเขา ซึ่ง ทางญี่ปุ่นเขายินดีที่ได้ไทยเป็นพันธมิตรในการผลิตและ Supply สินค้าเกษตรและอาหารให้เขา เขาเชื่อในศักยภาพของเรา เพราะเราเป็นผู้ส่งออกด้านสินค้าเกษตรและอาหารอันดับต้น ๆ ของโลก
ขณะนี้เราเป็นผู้ครองตลาดมังคุดในประเทศญี่ปุ่น ชาวญี่ป่นนิยมบริโภคมังคุดไทยสูงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และจะเห็นว่าราคาจำหน่ายปลีกตามห้างสรรพสินค้าของมังคุดไทยอยู่ที่ประมาณ 150-300 เยนต่อผลแล้วแต่ขนาด ก็ตกประมาณ 50-100 บาทบ้านเรา ถ้าคิดเป็นราคากิโลกรัมก็จะสูงถึง 500-1,000 บาทต่อกิโลกรัม เมื่อมังคุดเราติดตลาดที่โน่นเราก็ใช้จังหวะเดียวกันถือโอกาสเสนอสินค้าแปรรูปจากมังคุดพ่วงเพิ่มเข้าไป ทั้งในส่วนที่รับประทาน เช่น น้ำมังคุด และในส่วนที่เป็นผลิตภัณฑ์ เช่นเครื่องสำอางสกัดจากเปลือกมังคุด เป็นต้น ในตอนนี้กล้วยดิบไทยก็กำลังทำตลาดไปได้สวย แต่เรื่องสับปะรดเรามีปัญหา แม้ว่าญี่ปุ่นจะให้โควตานำเข้าสับปะรดสดจากไทยปีละ 100 ตันและเพิ่มเป็น 300 ตันในปีที่ 5 ตามข้อตกลง JTEPA ปรากฏว่าเราส่งได้ไม่มากนัก เพราะเขากำหนดไว้ที่น้ำหนักไม่เกิน 900 กรัมต่อลูก แต่ของเราปาไปลูกละ 1.2-1.5 กิโลกรัม เราได้นำปัญหาไปพูดคุยกับทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรญี่ปุ่นแล้ว ซึ่งจะได้รับการแก้ไขต่อไปรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวสรุป
อีกท่านหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในเรื่องการช่วยเหลือให้สินค้าเกษตรไทยเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่น เสมือนเป็นทัพหน้าของสินค้าไทย คือ นายสุวิทย์ สิมะสกุล เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว ซึ่งเพิ่งได้รับรางวัลครุฑทองคำ (ผู้บริหารราชการพลเรือนดีเด่น) ไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้ให้ความเห็นไว้ว่า โอกาสของสินค้าเกษตรและอาหารของไทยนั้นยังมีอยู่มาก เพียงแต่เราต้องทำความเข้าใจในพฤติกรรมการบริโภคของชาวญี่ปุ่นให้ถ่องแท้ และระบบ QC ของญี่ปุ่นเขาเข้มแข็งมาก สินค้าต้องได้คุณภาพตามที่ตกลงกัน จริง ๆ ไม่อย่างนั้นโดนตีกลับแน่ ที่ผ่าน ๆ มามีการตีกลับเยอะสินค้าเกษตรไทยเสียหายกันเป็นคอนเทเนอร์ เพราะถ้าเขาเจอมดหรือแมลงสักตัวแค่ผลไม้ลูกเดียว เขาสั่งตีกลับยกออร์เดอร์เลย จริงอยู่ว่าสินค้าเกษตรไทยเมื่อมาถึงที่ญี่ปุ่นราคาจะดีมาก แต่กว่าจะผ่านมาได้ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย
การทำธุรกิจที่ญี่ปุ่นเรื่องภาษาก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะชาวญี่ปุ่นไม่นิยมภาษาต่างประเทศ เขามีความเป็นชาตินิยมสูง รูปแบบแพ็กเกจหีบห่อต้องสวย ไว้ก่อน และบริษัทส่งออกสินค้าเกษตรไทยหากมีชาวญี่ปุ่นเป็นพาร์ทเนอร์ชิพ การดำเนินการจะง่ายกว่าเป็นคนไทยเพียงอย่างเดียว การมองตลาดญี่ปุ่นเราต้องมองว่าเป็นตลาดพรีเมี่ยม ขายได้แพงแต่สินค้าเราก็ต้องคัดมาอย่างดีจริง ๆ ถ้าเกษตรกรไทยเปลี่ยนมาใช้วิกฤติมาเป็นโอกาส ในขณะที่ราคาผลไม้ตกต่ำเช่นนี้ เปลี่ยนวิธีการผลิตแบบเอาเยอะไว้ก่อน มาเป็นเน้นคุณภาพให้ได้ผลผลิตสวย ๆ ใหญ่ ๆ ลดการใช้สารเคมี สารพิษ เพื่อลดต้นทุน โอกาสในการขายสินค้าได้ราคาดีก็ย่อมจะสูงมากขึ้นแน่นอนเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียวแสดงความเห็นส่งท้าย.
สถานการณ์อาหารในประเทศญี่ปุ่น
- ญี่ปุ่นผลิตอาหารได้ไม่เพียงพอต่อการบริโภคต้องพึ่งพาการนำเข้าถึงร้อยละ 60 แต่มีเป้าหมายจะลดการนำเข้าให้เหลือร้อยละ 55 ในปี 2553
- ปัญหาราคาอาหารปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะขนมปังแผ่น และโชยุ เนื่องจากราคานำเข้าวัตถุดิบสูงขึ้น
- อุตสาหกรรมอาหารญี่ปุ่นกำลังถูกกดดันอย่างหนัก เนื่องจากแรงต้านของผู้ค้าปลีก ต่อการขึ้นราคาสินค้า เพราะญี่ปุ่นอยู่ในสภาวะเงินฝืดมานาน ราคาอาหารไม่มีการปรับเพิ่มกว่า 20 ปี
- การขึ้นราคาอาหารต่อพฤติกรรมการซื้อของชาวญี่ปุ่น แม้จะยังไม่ชัดเจนนัก แต่มีผลสำรวจอย่างไม่เป็นทางการระบุว่าคนญี่ปุ่นร้อยละ 40 จะพยายามลดการบริโภคสิ่งที่ไม่จำเป็น และหันมาซื้อของลดราคาร้อยละ 27
- เกิดปัญหาเนยขาดแคลนในตลาด รุนแรงถึงขนาดร้านค้าหลายแห่งไม่มีเนยจำหน่าย เนื่องจากน้ำนมดิบไม่เพียงพอต่อการผลิต จนอาจมีการลดภาษีเป็นพิเศษเพื่อให้มีการนำเข้าในอนาคตอันใกล้
- ดัชนีผู้บริโภค (ไม่รวมอาหารสด) ของญี่ปุ่น ประจำเดือน เม.ย. 2551 สูงขึ้นร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน และสูงเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกัน เนื่องมาจากปัญหาราคาน้ำมัน
จุดแข็ง
มีสินค้าแปรรูปที่หลากหลายจากมังคุด
จุดอ่อน
คุณภาพของสินค้า  แมลง
โอกาส
ญี่ปุ่นผลิตอาหารได้ไม่เพียงพอต่อการบริโภคต้องพึ่งพาการนำเข้า
อุปสรรค
ต้นทุนที่สูงขึ้นทุกด้านแต่ราคาผลผลิตกลับตกต่ำ
ค่าเงินบาทแข็งตัว
คู่แข่งขันอย่าง จีน

วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประวัติของประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น
ไฟล์:Hokkaido Sapporo Odori Park.jpg
          ญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日本 Nihon/Nippon นิฮง/นิปปง ?) มีชื่อทางการคือประเทศญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日本国 Nihon-koku/Nippon-koku นิฮงโกะกุ/นิปปงโกะกุ ?) (จีนตัวเต็ม: 日本國; จีนตัวย่อ: 日本国) เป็นประเทศหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลี และสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือ ติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอคอตสค์ เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่าถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์ จึงทำให้บางครั้งถูกเรียกว่าดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย
ญี่ปุ่นมีเนื้อที่กว่า 377,930 ตารางกิโลเมตร นับเป็นอันดับที่ 61 ของโลก[7] หมู่เกาะญี่ปุ่นประกอบไปด้วยเกาะน้อยใหญ่กว่า 3,000 เกาะ เกาะที่ใหญ่ที่สุดก็คือเกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ตามลำดับ เกาะของญี่ปุ่นส่วนมากจะเป็นหมู่เกาะภูเขา ซึ่งในนั้นมีจำนวนหนึ่งเป็นภูเขาไฟ เช่นภูเขาไฟฟูจิ ภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศ เป็นต้น ประชากรของญี่ปุ่นนั้นมีมากเป็นอันดับที่ 10 ของโลก คือประมาณ 128 ล้านคน[8] เมืองหลวงของญี่ปุ่นคือกรุงโตเกียว ซึ่งถ้ารวมบริเวณปริมณฑลเข้าไปด้วยแล้วจะกลายเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่มีประชากรอยู่อาศัยมากกว่า 30 ล้านคน
สันนิษฐานว่ามนุษย์มาอาศัยในญี่ปุ่นครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นครั้งแรกปรากฏขึ้นในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ในขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน พ.ศ. 2490
ญี่ปุ่นเป็นประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจ โดยมีจีดีพีสูงเป็นอันดับสองของโลก ญี่ปุ่นเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ จี 8 โออีซีดี และเอเปค และมีความตื่นตัวที่จะมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของต่างประเทศ ญี่ปุ่นมีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดี และยังเป็นผู้นำทางเทคโนโลยี เครื่องจักร และหุ่นยนต์

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%8D%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99#.E0.B8.81.E0.B8.B2.E0.B8.A3.E0.B9.80.E0.B8.A1.E0.B8.B7.E0.B8.AD.E0.B8.87.E0.B8.81.E0.B8.B2.E0.B8.A3.E0.B8.9B.E0.B8.81.E0.B8.84.E0.B8.A3.E0.B8.AD.E0.B8.87

วัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่น

วัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่น
วัฒนธรรมญี่ปุ่นมีวิวัฒนาการมายาวนานตั้งแต่วัฒนธรรมยุคโจมงซึ่งเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของประเทศ จนถึงวัฒนธรรมผสมผสานร่วมสมัยซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ศิลปะดั้งเดิมของญี่ปุ่นมีทั้งงานฝีมือ เช่น อิเกะบะนะ (การจัดดอกไม้) โอะริงะมิ อุกิโยะ-เอะ[137] ตุ๊กตา เครื่องเคลือบ เครื่องปั้นดินเผา การแสดง เช่น คะบุกิ โน บุนระกุ[137] ระกุโงะ และประเพณีต่าง ๆ เช่น การละเล่น พิธีชงชา ศิลปการต่อสู้ สถาปัตยกรรม การจัดสวน ดาบ และอาหาร การผสมผสานระหว่างภาพพิมพ์กับศิลปะตะวันตก นำไปสู่การสร้างสรรค์มังงะหรือหนังสือการ์ตูนของญี่ปุ่นที่เป็นที่นิยมทั้งในและนอกญี่ปุ่น[138] แอนิเมชันที่ได้รับอิทธิพลมาจากมังงะเรียกว่า อะนิเมะ วงการเกมคอนโซลของญี่ปุ่นเจริญรุ่งเรืองอย่างมากตั้งแต่ พ.ศ. 2523[139]
ดนตรี
ไฟล์:KotoPlayer.jpg
        ดนตรีญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมข้างเคียงเช่นจีนและคาบสมุทรเกาหลี รวมทั้งจากโอะกินะวะและฮกไกโด ตั้งแต่โบราณ เครื่องดนตรีหลายชิ้น เช่น บิวะ โคะโตะ ถูกนำเข้ามาจากจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7และชะมิเซ็งเป็นเครื่องดนตรีที่ดัดแปลงจากเครื่องดนตรีโอะกินะวะซึ่งมีจุดเริ่มต้นที่กลางพุทธศตวรรษที่ 21 ญี่ปุ่นมีเพลงพื้นบ้านมากมาย เช่นเพลงที่ร้องระหว่างการเต้นบงโอะโดะริ เพลงกล่อมเด็ก ดนตรีตะวันตกเริ่มเข้ามาในต้นพุทธศตวรรษที่ 25 และถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม หลังสงคราม ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลทางด้านดนตรีสมัยใหม่จากอเมริกาและยุโรปเป็นอย่างมาก ก่อให้เกิดการพัฒนาแนวดนตรีที่เรียกว่า เจ-ป็อป ญี่ปุ่นมีนักดนตรีคลาสสิคที่มีชื่อเสียงระดับโลกหลายคน เช่น วาทยากร เซจิ โอะซะวะ นักไวโอลิน มิโดะริ โกะโต เมื่อถึงช่วงสิ้นปี จะมีการเล่นคอนเสิร์ตซิมโฟนีหมายเลข 9 ของเบโทเฟนทั่วไปในญี่ปุ่น
วรรณกรรม
ไฟล์:Ch5 wakamurasaki.jpg
         วรรณกรรมญี่ปุ่นชิ้นแรกได้แก่หนังสือประวัติศาสตร์ที่ชื่อ โคะจิกิ และ นิฮงโชะกิและหนังสือบทกวีสมัยศตวรรษที่ 8 ที่ชื่อ มังโยชู ซึ่งเขียนด้วยภาษาจีนทั้งหมด ในช่วงต้นของยุคเฮอัง มีการสร้างระบบการเขียนแทนเสียงที่เรียกว่า คะนะ (ฮิระงะนะ และ คะตะคะนะ) นิทานคนตัดไม้ไผ่ ถูกพิจารณาว่าเป็นงานที่เก่าแก่ที่สุดที่เขียนด้วยภาษาญี่ปุ่นตำนานเกนจิ ที่เขียนโดยมุระซะกิ ชิกิบุมักถูกเรียกว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นแรกของโลก ระหว่างยุคเอโดะ วรรณกรรมไม่อยู่ในความสนใจของซามูไรเท่ากับ โชนิน ชนชั้นประชาชนทั่วไป ตัวอย่างเช่น โยะมิฮง กลายเป็นที่นิยมและเผยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ลึกซึ้งระหว่างนักอ่านกับนักเขียน ในสมัยเมจิ วรรณกรรมดั้งเดิมได้เสื่อมสลายลง ขณะที่วรรณกรรมญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากขึ้นโซเซะกิ นะสึเมะและโองะอิ โมริเป็นนักแต่งนิยายสมัยใหม่รุ่นแรกของญี่ปุ่นตามมาด้วย ริวโนะซุเกะ อะคุตะกะวะ, ทะนิซะกิ จุนอิชิโระ, คาวาบาตะ ยาสุนาริ, มิชิมะ ยุกิโอะ และล่าสุด ฮารูกิ มุราคามิญี่ปุ่นมีนักเขียนที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม 2 คน ได้แก่ คาวาบาตะ ยาสุนาริ (พ.ศ. 2511) และ เค็นซะบุโร โอเอะ (พ.ศ. 2537)
กีฬา
ไฟล์:Ryogoku Kokugikan Tsuriyane 05212006.jpg
         หลังการปฏิรูปเมจิ กีฬาตะวันตกก็เริ่มเข้ามาในญี่ปุ่นและแพร่หลายไปทั่วประเทศด้วยระบบการศึกษา ในญี่ปุ่น กีฬานับเป็นกิจกรรมยามว่างที่ดีต่อสุขภาพ ช่วยพัฒนาวินัย การเคารพกฎกติกา และช่วยสั่งสมน้ำใจนักกีฬา ชาวญี่ปุ่นทุกวัยให้ความสนใจกับกีฬาทั้งในฐานะผู้ชมและผู้เล่นกีฬาที่ได้รับความนิยมในญี่ปุ่น ได้แก่
อาหาร
ไฟล์:Breakfast at Tamahan Ryokan, Kyoto.jpg
        ชาวญี่ปุ่นกินข้าวเป็นอาหารหลัก อาหารญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงได้แก่ซูชิ เทมปุระ สุกียากี้ ยากิโทริและโซบะ[156] อาหารญี่ปุ่นหลายอย่างดัดแปลงจากอาหารต่างประเทศ เช่นทงคัตสึ ราเม็งและแกงกะหรี่ญี่ปุ่น อาหารญี่ปุ่นได้รับความนิยมในต่างประเทศเพราะเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ จากการสำรวจพบว่าในปี 2006 มีร้านอาหารญี่ปุ่นมากกว่า 20,000 แห่งทั่วโลก
ชาวญี่ปุ่นมีความพิถีพิถันในการเลือกวัตถุดิบจึงทำให้มีอาหารประจำท้องถิ่นและอาหารประจำฤดู วัตถุดิบที่เป็นเอกลักษณ์ในอาหารญี่ปุ่นคือถั่วเหลือง ซึ่งนำมาทำโชยุ มิโสะ เต้าหู้ ถั่วแดงซึ่งมักนำมาทำขนม และสาหร่ายชนิดต่าง ๆ เช่นคอมบุ นอกจากนี้ ชาวญี่ปุ่นยังนิยมกินซะชิมิหรืออาหารทะเลดิบอีกด้วย
ชาในญี่ปุ่นมีหลายชนิดซึ่งแตกต่างไปตามกรรมวิธีการผลิตและส่วนผสมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีต้นกำเนิดจากญี่ปุ่นคือเหล้าสาเก (หรือนิฮงชุ ในภาษาญี่ปุ่น) ซึ่งผลิตโดยใช้วิธีหมักข้าว และโชชูซึ่งเป็นเหล้าที่เกิดจากการกลั่น

วัฒนธรรมญี่ปุ่นใน 1ปี
         ในด้านอื่นๆอีกมายมายวัฒนธรรมต่างๆล้วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตในแต่ละวันของญี่ปุ่น ทำให้ในแต่ละเดือนการปฎิบัติตนของญี่ปุ่นได้สอดคล้องกับธรรมเนียมประเพณีของแต่ละเดือนแต่ละฤดูโดยที่คนญี่ปุ่นไม่รู้ตัว
JANUARY มกราคม

เริ่มจากวันขึ้นปีใหม่ของญี่ปุ่นผู้คนจะไปไหว้พระที่ศาลเจ้าหรือที่วัดในคืนวันที่31ย่างเข้าวันที่ 1 เรียกว่าฮัทซึโมเดะและวันสำคัญอีกวันนึงของเดือนนี้คือวันที่ 20มกราคม เรียกว่าวันเซจินโนะฮิ วันที่คนหนุ่มสาว
ทีอายุครบ 20ปี .
FEBRUARY กุมภาพันธ์

เดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนที่เริ่มต้นฤดูใบไม่ผลิตาม  ปฎิทินเก่า ในเดือนนี้จึงมีการฉลองการมาเยือนของฤดูโดยการใช้เม็ดทั่วโปรยหรือข้วางไปที่นอกบ้านและในบ้านเรียกเซทซึ
MARCH มีนาคม

ฮินะมัทซึริเป็นการตั้งโชว์ตุ๊กตาญี่ปุ่นจักรพรรดิ์,จักรพรรดินีและนางกำนัลอื่นๆ และจัดตั้งวางบนชั้นเรียกว่า ฮินะดัง ซึ่งจัดในวันที่ 3มีนาคม เพื่ออธิษฐานขอพรให้เกิดความสุขและสุขภาพแข็งแรงให้กับเด็กผู้หญิง...
APRIL เมษายน

เป็นช่วงข้าสู่ฤดุใบไม้ผลิอย่างแท้จริงในเดือนนี้ดอกซากุระจะเบ่งบานเต็มที่และจะร่วงโรยภายในสองอาทิตย์ดังนั้นคนญี่ปุ่นจึงมีเทศกาลชมความสวยงามดอกซากุระซึ่งเรียกว่าเทศกาลฮานามิ
MAY พฤษภาคม

วันที่5 พฤษภาคม เป็นวันเด็กผู้ชายจะมีการประดับตุ๊กตาซามุไรพร้อมด้วยดาบและเสื้อเกราะไว้ในบ้านและติดตั้งธงรูปปลาคาร์ฟหรือที่เรียกว่า โค่ยโนะโบริ
ไว้นอกบ้านเพื่อขอพรให้ลุกมีสุขภาพแข็งแรง
JUNE มิถุนายน

เป็นช่วงฤดูฝนของประเทศญี่ปุ่นการดำเนินชีวิตของชาวญี่ปุ่นในช่วงเดือนมิถุนายนนี้จะเป็นช่วงของการออกเงินโบนัสกลางปีออกคนส่วนใหญ่มักจะไจับจ่ายซื้อของกันในช่วงเดือนนี้
JULY กรกฎาคม

ในเดือนนี้ของญี่ปุ่นมีเทศกาลที่ชาวญี่ปุ่นทำมากันตั้งแต่โบราณก็คือเทศกาลทะนะบะตะทซึเมะ ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 7 เดือน 7 จะใช้แถบกระดาษสี เขียนสิ่งที่มุ่งหวังแขวนห้อยไว้บนกิ่งไผ่เพื่ออธิษฐานขอพร
AUGUST สิงหาคม

เทศกาลบง(โอ-บง)เป็นเทศกาลตามประเพณีของศาสนาพุทธโบราณมีการเซ่นไหว้วิญญาณของบรรพบุรุษด้วยผลไม้และอาหารต่างๆด้วยความเชื่อว่าวิญญาณบรรพบุรุษจะกลับมาสู่โลกทุกๆปี
SEPTEMBER กันยายน
วันที่23กันยายนถือเป็นวันสิ้นสุดฤดูร้อน ตามหลัก
พุทธศาสนาโบราณหรือที่คนญี่ปุ่นรู้จักกันดีตามประเพณีเรียกว่าฮิกัน คนญี่ปุ่นมักไปเคารพหลุมฝังศพบรรพบุรุษกันในช่วงเดือนนี้
OCTOBER ตุลาคม

เดือนนี้เป็นเดือนที่มีเทศกาลต่างๆมากมายเนื่องจากเป็นฤดูเก็บเกี่ยวและยังเป็นเดือนที่มีวันที่อากาศแจ่มใสมากที่สุดและในวันที่10ตุลาคมยังเป็นวันสุขภาพจัดให้มีการแข่งขันกีฬาต่างๆในวันนี้ด้วย
NOVEMBER พฤษจิกายน
วันที่3ของเดือนนี้เป็นวันวัฒนธรรมของญี่ปุ่นมีความสำคัญคือเพื่อระลึกถึงวันที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่อย่างเป็นทางการ(วันที่3 พ.ย.1946)หลังจากญี่ปุ่นแห้สงครามโลกครั้งที่2
DECEMBER ธันวาคม
เดือนที่มีประเพณีหลายอย่างเพื่อต้อนรับปีใหม่เช่นทำความสะอาดบ้าน จับจ่ายสินค้าเพื่อให้แก่ผู้อาวุโสและมีพระคุณ(โอเซโบะ)ทำอาหารสำหรับปีใหม่หรือที่เรียกว่าโอเซทจิ เรียวริ ส่งการ์ดอวยพรต่างๆ

ของขวัญ : วัฒนธรรมของญี่ปุ่น : โอะยูริโมะโนะ
            ประเพณีการให้ของขวัญ ในญี่ปุ่นมีลักษณะพิเศษ คือ มีการให้ ของขวัญ ตามฤดูกาล กล่าวคือ
- โอะ-ชูเง็น- ในฤดูร้อน
- โอะ-เซะอิโม - ในฤดูหนาว
       
 ซึ่งแตกต่างจากการให้ ของขวัญ เพื่อแสดงความยินดี โดยเป็นการส่ง ของขวัญ เพื่อเป็นการขอบคุณ ต่อผู้ให้ความช่วยเหลือด้วยดีเสมอมานั่นเอง
          คนทั่วไปจะส่ง ของขวัญ ให้พ่อแม่หรือ นะโกโดะ คือผู้ที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในงานแต่งงานหรือพ่อสื่อ แม่สื่อ นั่นเอง เจ้านาย ครู แพทย์ประจำครอบครัวในกรณีของบริษัทส่วนใหญ่จะส่ง ของขวัญ ให้กับบริษัทที่ติดต่อค้าขายกันอยู่นั่นเอง

การให้ ของขวัญ ตอบแทน - โอะ - คะเอะชิ

          การให้สิ่งของเพื่อตอบแทน ของขวัญ ที่ได้รับ นับเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับการให้ ของขวัญ ในญี่ปุ่น และไม่ต้องกังวลว่าอุตส่าห์มอบ ของขวัญ ให้แล้วอีกฝ่ายหนึ่งจะไม่เข้าใจความปรารถนาดีของผู้ให้ เพราะคนญี่ปุ่นจะแสดงความขอบคุณต่อ ของขวัญ ที่ได้รับโดยการมอบ ของขวัญ ตอบแทน ที่เรียกว่า โอะ-คะเอะชิ การแสดงความขอบคุณด้วยการส่งบัตรแสดงความขอบคุณนั้นยิ่งเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี แต่การส่ง ของขวัญ ตอบแทนในทันทีจะเป็นการเสียมารยาท ถ้าเป็นกรณีแสดงความยินดีควรส่งภายในรอบสัปดาห์ตั้งแต่วันที่ได้รับ ของขวัญ
ส่วนกรณีการแสดงความเสียใจ

          ควรส่งหลังจากประกอบพิธีที่ระลึกถึงผู้ตายเมื่อครบสี่สิบเก้าวัน หรือถ้าไม่ส่งของตอบแทนก็จะจดบันทึกไว้ก็ได้ เมื่อถึงโอกาสที่อีกฝ่ายหนึ่งเกิดกรณีแบบเดียวกันนี้ขึ้นจึงส่ง ของขวัญ ไปให้
 
สำหรับกรณีการตอบแทนการมอบเงินช่วยในงานศพ
          จะไม่มีการส่งบัตรขอบคุณ ทั้งนี้เพื่อมิให้ครอบครัวของผู้ตายรู้สึกเศร้าโศกยิ่งขึ้นและแม้แต่เงินที่ได้รับมอบในงานศพก็ยังมีการให้ ของขวัญ ตอบแทน
อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้ระยะหลังๆ มักนำไปบริจาคให้องค์การการกุศลมากขึ้น
 
ในกรณีของการแสดงความยินดีต่อเด็กแรกเกิดและงานฉลองอื่นๆ ภายในครอบครัว
 
          จะให้ ของขวัญ ตอบแทนเป็น ข้าวแดง (เซะกิซัน) และน้ำตาลสีแดงและขาว เพื่อเป็นการแบ่งปันความปิติยินดี ให้กับผู้ที่ส่ง ของขวัญ มาอวยพร
 
ในงานเลี้ยงฉลองการแต่งงาน
 
          แขกที่มาร่วมงานจะได้รับ ของขวัญ ตอบแทนที่เรียกว่า มิกิเดะโมะโระ ในประเทศญี่ปุ่น มีการให้ เงินสด เป็น ของขวัญ ในหลายๆ กรณีการแสดงความยินดีในโอกาสของการเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษา การจบการศึกษา การบรรลุตินิภาวะ การแต่งงาน การไปเยี่ยมไข้และการไปเยี่ยมเยียนเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งประสบความเดือดร้อนจากไฟไหม้ จะให้ ของขวัญ เป็นเงินสด เป็นส่วนใหญ่
 
          ชาวญี่ปุ่นเรียกการให้ ของขวัญ ปีใหม่ว่า โอะโทะชิตะบะ ส่วน โคเค็น คือการได้สิ่งของหรือเงินเพื่อแสดงความเสียใจในงานศพ ส่วนใหญ่จะให้ ของขวัญ เป็นเงินสด โดยปกติจะไม่มีการส่ง ของขวัญ ตอบแทน
ในกรณีของการให้ ของขวัญ เพื่อแสดงความยินดีในโอกาสเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษา การจบการศึกษา วันเกิดและการเยี่ยมเยืยน การเจ็บป่วย หรือได้รับความเดือดร้อนจากภัยพิบัติต่างๆ แต่เป็นมารยาทที่ควรจะต้องส่ง บัตรแสดงความขอบคุณ กลับไป
ในยุคเศรษฐกิจแบบประหยัด การให้ ของขวัญ เป็น เงินสด ดีที่สุด เพราะผู้รับสามารถนำไปใช้ได้ตามความต้องการ
ของขวัญ
 

การค้าระหว่างประเทศกับการตลาดระหว่างประเทศต่างกันอย่างไร

การตลาดระหว่างประเทศคือ กระบวนการค้นหาความต้องการของผู้บริโภคในประเทศต่างๆและทำการวางแผนประสานกิจกรรมทางการตลาดต่างๆ  เพื่อตอบสนองความต้องการของผูบริโภคเหล่านั้นได้ดีกว่าคู่แข่งขันทั้งภายในและต่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศคือ กิจกรรมที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างประเทศ อาจเปลี่ยนเป็นสิ่งของต่อสิ่งของโดยตรงหรือใช้เงินตราต่างประเทศที่เป็นที่ยอมรับทั่วไปเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ จึงทำให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนและวิทยาการเทคโนโลยีต่างๆระหว่างประเทศ