มังคุด
ญี่ปุ่นถือเป็นประเทศที่มีกำลังซื้อสูงก็จริง โดยเฉพาะที่กรุงโตเกียวค่าครองชีพสูงไล่เลี่ยกับเมืองนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐเลยทีเดียว แต่ใช่ว่าผลไม้ไทยจะเข้ามาจำหน่ายได้ทั้งหมด เพราะประชาชนเขาเลือกที่จะบริโภคของที่มีคุณภาพและมีประโยชน์ ต่อร่างกาย ฉะนั้นเมื่อเราเป็นผู้ผลิต เป็นผู้ส่งออก เราก็ต้องผลิตให้ได้ตามความต้องการของเขา ซึ่ง ทางญี่ปุ่นเขายินดีที่ได้ไทยเป็นพันธมิตรในการผลิตและ Supply สินค้าเกษตรและอาหารให้เขา เขาเชื่อในศักยภาพของเรา เพราะเราเป็นผู้ส่งออกด้านสินค้าเกษตรและอาหารอันดับต้น ๆ ของโลก
“ขณะนี้เราเป็นผู้ครองตลาดมังคุดในประเทศญี่ปุ่น ชาวญี่ป่นนิยมบริโภคมังคุดไทยสูงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และจะเห็นว่าราคาจำหน่ายปลีกตามห้างสรรพสินค้าของมังคุดไทยอยู่ที่ประมาณ 150-300 เยนต่อผลแล้วแต่ขนาด ก็ตกประมาณ 50-100 บาทบ้านเรา ถ้าคิดเป็นราคากิโลกรัมก็จะสูงถึง 500-1,000 บาทต่อกิโลกรัม เมื่อมังคุดเราติดตลาดที่โน่นเราก็ใช้จังหวะเดียวกันถือโอกาสเสนอสินค้าแปรรูปจากมังคุดพ่วงเพิ่มเข้าไป ทั้งในส่วนที่รับประทาน เช่น น้ำมังคุด และในส่วนที่เป็นผลิตภัณฑ์ เช่นเครื่องสำอางสกัดจากเปลือกมังคุด เป็นต้น ในตอนนี้กล้วยดิบไทยก็กำลังทำตลาดไปได้สวย แต่เรื่องสับปะรดเรามีปัญหา แม้ว่าญี่ปุ่นจะให้โควตานำเข้าสับปะรดสดจากไทยปีละ 100 ตันและเพิ่มเป็น 300 ตันในปีที่ 5 ตามข้อตกลง JTEPA ปรากฏว่าเราส่งได้ไม่มากนัก เพราะเขากำหนดไว้ที่น้ำหนักไม่เกิน 900 กรัมต่อลูก แต่ของเราปาไปลูกละ 1.2-1.5 กิโลกรัม เราได้นำปัญหาไปพูดคุยกับทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรญี่ปุ่นแล้ว ซึ่งจะได้รับการแก้ไขต่อไป” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวสรุป
อีกท่านหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในเรื่องการช่วยเหลือให้สินค้าเกษตรไทยเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่น เสมือนเป็นทัพหน้าของสินค้าไทย คือ นายสุวิทย์ สิมะสกุล เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว ซึ่งเพิ่งได้รับรางวัลครุฑทองคำ (ผู้บริหารราชการพลเรือนดีเด่น) ไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้ให้ความเห็นไว้ว่า โอกาสของสินค้าเกษตรและอาหารของไทยนั้นยังมีอยู่มาก เพียงแต่เราต้องทำความเข้าใจในพฤติกรรมการบริโภคของชาวญี่ปุ่นให้ถ่องแท้ และระบบ QC ของญี่ปุ่นเขาเข้มแข็งมาก สินค้าต้องได้คุณภาพตามที่ตกลงกัน จริง ๆ ไม่อย่างนั้นโดนตีกลับแน่ ที่ผ่าน ๆ มามีการตีกลับเยอะสินค้าเกษตรไทยเสียหายกันเป็นคอนเทเนอร์ เพราะถ้าเขาเจอมดหรือแมลงสักตัวแค่ผลไม้ลูกเดียว เขาสั่งตีกลับยกออร์เดอร์เลย จริงอยู่ว่าสินค้าเกษตรไทยเมื่อมาถึงที่ญี่ปุ่นราคาจะดีมาก แต่กว่าจะผ่านมาได้ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย
“การทำธุรกิจที่ญี่ปุ่นเรื่องภาษาก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะชาวญี่ปุ่นไม่นิยมภาษาต่างประเทศ เขามีความเป็นชาตินิยมสูง รูปแบบแพ็กเกจหีบห่อต้องสวย ไว้ก่อน และบริษัทส่งออกสินค้าเกษตรไทยหากมีชาวญี่ปุ่นเป็นพาร์ทเนอร์ชิพ การดำเนินการจะง่ายกว่าเป็นคนไทยเพียงอย่างเดียว การมองตลาดญี่ปุ่นเราต้องมองว่าเป็นตลาดพรีเมี่ยม ขายได้แพงแต่สินค้าเราก็ต้องคัดมาอย่างดีจริง ๆ ถ้าเกษตรกรไทยเปลี่ยนมาใช้วิกฤติมาเป็นโอกาส ในขณะที่ราคาผลไม้ตกต่ำเช่นนี้ เปลี่ยนวิธีการผลิตแบบเอาเยอะไว้ก่อน มาเป็นเน้นคุณภาพให้ได้ผลผลิตสวย ๆ ใหญ่ ๆ ลดการใช้สารเคมี สารพิษ เพื่อลดต้นทุน โอกาสในการขายสินค้าได้ราคาดีก็ย่อมจะสูงมากขึ้นแน่นอน” เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียวแสดงความเห็นส่งท้าย.
สถานการณ์อาหารในประเทศญี่ปุ่น
- ญี่ปุ่นผลิตอาหารได้ไม่เพียงพอต่อการบริโภคต้องพึ่งพาการนำเข้าถึงร้อยละ 60 แต่มีเป้าหมายจะลดการนำเข้าให้เหลือร้อยละ 55 ในปี 2553
- ปัญหาราคาอาหารปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะขนมปังแผ่น และโชยุ เนื่องจากราคานำเข้าวัตถุดิบสูงขึ้น
- อุตสาหกรรมอาหารญี่ปุ่นกำลังถูกกดดันอย่างหนัก เนื่องจากแรงต้านของผู้ค้าปลีก ต่อการขึ้นราคาสินค้า เพราะญี่ปุ่นอยู่ในสภาวะเงินฝืดมานาน ราคาอาหารไม่มีการปรับเพิ่มกว่า 20 ปี
- การขึ้นราคาอาหารต่อพฤติกรรมการซื้อของชาวญี่ปุ่น แม้จะยังไม่ชัดเจนนัก แต่มีผลสำรวจอย่างไม่เป็นทางการระบุว่าคนญี่ปุ่นร้อยละ 40 จะพยายามลดการบริโภคสิ่งที่ไม่จำเป็น และหันมาซื้อของลดราคาร้อยละ 27
- เกิดปัญหาเนยขาดแคลนในตลาด รุนแรงถึงขนาดร้านค้าหลายแห่งไม่มีเนยจำหน่าย เนื่องจากน้ำนมดิบไม่เพียงพอต่อการผลิต จนอาจมีการลดภาษีเป็นพิเศษเพื่อให้มีการนำเข้าในอนาคตอันใกล้
- ดัชนีผู้บริโภค (ไม่รวมอาหารสด) ของญี่ปุ่น ประจำเดือน เม.ย. 2551 สูงขึ้นร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน และสูงเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกัน เนื่องมาจากปัญหาราคาน้ำมัน
จุดแข็ง
มีสินค้าแปรรูปที่หลากหลายจากมังคุด
จุดอ่อน
คุณภาพของสินค้า แมลง
โอกาส
ญี่ปุ่นผลิตอาหารได้ไม่เพียงพอต่อการบริโภคต้องพึ่งพาการนำเข้า
อุปสรรค
ต้นทุนที่สูงขึ้นทุกด้านแต่ราคาผลผลิตกลับตกต่ำ
ค่าเงินบาทแข็งตัว
คู่แข่งขันอย่าง จีน